English | Bahasa
Header


ฮิตาชิ เมทัลส์ (ประเทศไทย) โรงงานชลบุรี

บริษัท:
ฮิตาชิ เมทัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชลบุรี


ประเทศที่เลือก: ประเทศไทย

ในฉบับนี้ เราเดินทางไปยังเมืองแห่งรอยยิ้ม และเยี่ยมชมบริษัท ฮิตาชิ เมทัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่โรงงานชลบุรี (HMT-CH) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลหะ, วัสดุ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ โดยส่วนใหญ่ HMT-CH ผลิตและส่งขายผลิตภัณฑ์เซ็นเซอร์ เช่น ABS (เซ็นเซอร์ความเร็วล้อ) ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง


ประวัติบริษัท

บริษัท ฮิตาชิ เมทัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ.1991 ในขณะที่ฮิตาชิ เมทัลส์ผลิตวัสดุที่หลากหลายให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์งานหล่อประณีต แต่สายงานหลักของธุรกิจในประเทศไทย คือ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมรถยนต์นำไปสู่การจัดตั้งโรงงานชลบุรีในปี ค.ศ.2007 นอกเหนือจากสำนักงานใหญ่และโรงงานในอยุธยา สำนักงานขายตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่ทำหน้าที่ในการขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฮิตาชิ เมทัลส์ และให้การสนับสนุนทางธุรกิจให้กับบริษัทเหล่านี้ เช่น การจัดซื้อ, คำปรึกษาทางเทคนิค และการสนับสนุนด้านแรงงาน


อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, Lumada และโรงงานอัจฉริยะ

ในข้อตกลงร่วมกันระหว่างบริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด (Hitachi Asia (Thailand) Ltd.: HAS-TH) กับ HMT-CH ชุดซีรีส์ของ IoT (Internet of Things หรืออินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) ริเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ.2018 โดยมุ่งเป้าหมายที่จะนำ HMT-CH เสนอเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของโรงงานอัจฉริยะในศูนย์ Lumada Center Southeast Asia ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่


ข้อตกลงนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ระหว่างสำนักงานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และฮิตาชิ ที่ได้ลงนามเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อใช้เทคโนโลยี IoT ของ Lumada ในการสร้างโรงงานอัจฉริยะ ซึ่งระยะ 3 เฟสของการเปิดตัว Lumada ในประเทศไทยนั้น เริ่มจากลำดับแรกซึ่งก็คือโรงงานอัจฉริยะ


ภายใต้เฟสแรกนี้ HMT-CH จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการผลิตด้านภาพ (Visualization Production Process) ของเซ็นเซอร์ ABS โดยสายการผลิตจะเป็นแบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงความสามารถทางการผลิต

1) การใช้ระบบบันทึกการผลิต (Production Record System)

หรือที่เรียกว่างานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Documentation) ทั้งนี้แผ่นเอกสารที่ลงบันทึการผลิตทีละรายการก็จะล้าสมัยไป เพราะการบันทึกด้วยมือมีความเสี่ยงของการสูญหายของข้อมูลหรือข้อมูลไม่ถูกต้อง


ด้วยการเริ่มเข้ามาของการดิจิไทซ์ ทำให้ข้อมูลหรือรายละเอียดถูกแปลงไปสู่รูปแบบดิจิทัล การใช้ระบบบันทึกการผลิตช่วยปรับปรุงความสามารถในการตรวจสอบกลับไปยังแหล่งที่มาโดยภาพรวมในกระบวนการผลิต โดยลดชั่วโมงแรงงานในการปฏิบัติงานและป้องกันข้อผิดพลาด


ในกรณีนี้ ซอฟต์แวร์การบันทึกข้อมูลที่เรียกว่าระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ถูกพัฒนาให้สามารถป้อนข้อมูลเข้าสู่ซอฟต์แวร์โดยตรง และเก็บบันทึกไว้ในระบบเซิร์ฟเวอร์ของข้อมูล ทำให้การตามรอยของข้อมูลกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดาย จึงช่วยให้มีการควบคุมคุณภาพที่ดีขึ้น ในเวลาเดียวกันซอฟต์แวร์ยังช่วยให้สามารถติดตามข้อมูลบันทึกการผลิตเมื่อเกิดข้อบกพร่องขึ้น, ช่วยเพิ่มทรัพยากร และลดการสูญเสียของการไหลของผลิตภัณฑ์

2) การใช้ระบบส่งเสริมกิจกรรม kaizen

ระบบนี้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในช่วงต้นของปฏิบัติการคอขวด และปรับปรุงคุณภาพของการปฏิบัติงาน กระบวนการที่ผิดปกติจะถูกตรวจพบจากข้อมูลกรตรวจสอบแบบเรียลไทม์ ซึ่งปัญหาจะถูกวิเคราะห์ตามภาพจากกระบวนการทำงานแบบคอขวดหรือข้อมูลวิดีโอ ที่สามารถนำไปปรับปรุงได้อย่างรวดเร็ว

3) การใช้ตารางการผลิต

ตารางการผลิตช่วยสร้างแผนการผลิตที่ปฏิบัติได้จริง โดยการปรับระดับน้ำหนักโหลดของแต่ละขั้นตอน ภายใต้ระบบนี้ แผนการผลิตจะได้รับการขัดเกลา โดยพิจารณาถึงข้อจำกัดของทรัพยากร และวันที่ส่งของของสินค้า แล้วหลังจากนั้นจึงปรับระดับแต่ละกระบวนการผลิต

4) การริเริ่มเข้ามาของวิทยาการหุ่นยนต์

ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างเฟสของการทดสอบ HMT-CH วางแผนที่จะทำให้สายการประกอบเป็นระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นด้วยการเริ่มใช้งานหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์หนึ่งตัวสามารถทดแทนคนงาน 3-4 คน และมีระดับประสิทธิภาพที่สูงกว่า ที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับสายการผลิตทัง้หมด


ให้ความสำคัญมากกับพนักงาน

โรงงานมักจะมีการใช้แรงงานมาก ทำให้กลายเป็นเรื่องท้าทายตลอดในการที่จะรักษาขวัญกำลังใจของพนักงานภายใน HMT กิจกรรม monozukuri ของพวกเขาที่มีเป้าหมายในการให้รางวัลแก่พนักงาน, แสดงความขอบคุณซาบซึ้ง เช่นเดียวกับความยุติธรรมในการทำงาน สามารถทำให้อัตราการลาออกของพนักงานจาก 20% เหลือ 0% ในปีค.ศ.2014 ด้วยเหตุนี้ HMT จึงชนะรางวัล Grand Prix of the Inspiration of the Year Global Award 2014 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เช่นเรื่องของเรื่องราวแบรนด์ของพวกเขา คลิกที่นี่


เป้าหมายอนาคตของ HMT-CH

HMT-CH มีเป้าหมายที่จะเป็นโรงงานอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย HMT-CH จะสำรวจค้นหาและใช้งานเทคโนโลยี IoT โดยใช้แพลตฟอร์ม Lumada ต่อไป ในขณะที่การทำงานมุ่งสู่การเป็นบริษัทวัสดุชั้นนำของโลกที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง


นอกจากการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต, ลดระยะเวลาในการผลิตให้สั้นลง และปรับปรุงคุณภาพ HMT-CH ยังหวังว่าจะได้สร้างคุณค่าใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทยด้วยการดึงดูดการลงทุนใหม่จากอุตสาหกรรมการผลิตผ่าน Lumada


Sahayot Kanjanasantisak
ในขณะเดียวกัน ผมรู้สึกว่า HMT-CH มีความอัจฉริยะชาญฉลาดเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะในหลายกระบวนการมีการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติและ IoT เข้ามาใช้งาน ซึ่งนับเป็นก้าวเล็กๆ ที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของ Hitachi ในการที่จะกลายเป็นพันธมิตรคู่ค้าด้านนวัตกรรมที่ก้าวล้ำสำหรับยุค IoT

การสัมภาษณ์ CONNECT

ชื่อ: Sahayot Kanjanasantisak
ตำแหน่ง: ผู้จัดการ ฝ่าย ABS แผนกการผลิตเซ็นเซอร์
บริษัท: ฮิตาชิ เมทัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด – สาขาชลบุรี


บอกเราเล็กน้อยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำใน Hitachi

ผมทำงานกับบริษัท ฮิตาชิ เมทัล (ประเทศไทย) จำกัด (HMT) จนถึงวันนี้มา 5 ปี โดยหน้าที่หลักของผมคือผู้จัดการของแผนกการผลิตเซ็นเซอร์ (Sensor Production Department) ที่จะคอยดูแลเกี่ยวกับการผลิต EPB (Electronic Parking Bay)


ผมเริ่มต้นที่โรงงานชลบุรี แล้วหลังจากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่โรงงานอยุธยา เพราะโรงงานแห่งนี้ต้องการเริ่มต้นการผลิต EPB ที่อยุธยาจึงต้องการผู้เชี่ยวชาญในการสอนงานพวกเขาในเรื่องนี้ และผมจึงถูกส่งไปอยู่ที่นั่น โดยส่วนตัวแล้วนับว่าเป็นจุดเด่นสำคัญของอาชีพการงานของผม งานของผมเมื่อ 2 ปีที่แล้วก็คือการจัดตั้งหน่วยงานการผลิต EPB ในอยุธยา และตอนนี้ผมก็ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น ในตอนนี้ผมจึงได้กลับมารวมตัวกับทีมงานของผมในโรงงานชลบุรี!


การถูกยืมตัวมาที่อยุธยาของคุณฟังดูน่าสนใจ! ตอนนี้คุณได้กลับมาที่โรงงานชลบุรีแล้ว คุณสามารถแบ่งปันเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่คุณสังเกตเห็นตั้งแต่ที่คุณกลับมาได้หรือไม่?

ในส่วนของโรงงานการผลิต ที่โรงงานชลบุรีดำเนินนโยบาย monozukuri หรือ kaizen ซึ่งคำว่า monozukuri และ kaizen หมายถึงการพัฒนาปรับปรุง จึงมีการวางนโยบายเหล่านี้โดยหวังว่าจะช่วยให้กลายเป็นโรงงานการผลิตที่เรียนรู้เป็น และมีการปรับปรุงโดยรวมในด้านประสิทธิภาพ, การบริการ และความปลอดภัย ซึ่งในท้ายที่สุดจะนำไปสู่ความสามารถในการทำกำไร


เมื่อสองปีก่อน HMT-CH เริ่มทำกิจกรรม 2S-3Fix โดย 2S มาจากแนวคิด 5S โดยมุ่งเน้นเฉพาะ “Sort out (คัดแยก)” และ “Set in order (จัดเรียงตามลำดับ)” ในขณะที่ 3Fix คือ การวางมาตรฐานของวัตถุที่กำหนด (Fixed Item), จำนวนที่กำหนด (Fixed Quantity) และสถานที่ที่กำหนด (Fixed Location)


นับตั้งแต่ที่ผมกลับมา ผมสังเกตเห็น HMT-CH ยังคงดำเนินกิจกรรม 2S-3Fix อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง และผมยังสังเกตเห็นจุด Kaizen หรือส่วนที่ปรับปรุงจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ด้วยการเน้นความสำคัญอย่างต่อเนื่องของกิจกรรม 2S-3Fix ทำให้ HMT-CH ในตอนนี้มีระบบ monozukuri ที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเยี่ยม!


ในขณะเดียวกัน ผมรู้สึกว่า HMT-CH มีความอัจฉริยะชาญฉลาดเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะในหลายกระบวนการมีการนำเทคโนโลยีอัติโนมัติและ IoT เข้ามาใช้งาน ซึ่งนับเป็นก้าวเล็กๆ ที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของ Hitachi ในการที่จะกลายเป็นพันธมิตรคู่ค้าด้านนวัตกรรมที่ก้าวล้ำสำหรับยุค IoT


คุณสามารถแบ่งปันเรื่องราวของความมุ่งมาดปรารถนาส่วนตัวของคุณใน 2-3 ปีข้างหน้าได้หรือไม่?

ผมรู้สึกมีความสุขมากกับหน้าที่การงานในปัจจุบันของผม และ HMT ทำให้ผมไม่ได้คิดเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งส่วนตัวใดๆ แต่ผมคาดหวังที่จะได้เห็น HMT-CH กลายเป็นบริษัทที่ยอดเยี่ยมอย่างที่ต้องการจะเป็น เช่นเดียวกับการประสบความสำเร็จในการเป็นโรงงานอัจฉริยะ อย่างที่คุณทราบว่าการเป็นโรงงานอัจฉริยะหมายถึงการพัฒนาปรับปรุงความสามารถในการผลิตโดยรวม นี่คือสาเหตุที่ผมมั่นใจว่าด้วยการใช้งาน IoT และการทำงานอย่างใกล้ชิดกับศูนย์ Lumada Center Sourtheast Asia ทำให้ HMT-CH จะประสบความสำเร็จในการเป็นตัวอย่างโรงงานอัจฉริยะภายในปีค.ศ. 2020