English | Bahasa
หากรัฐบาลไทยร่วมมือกับฮิตาชิในกระบวนการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) และสร้างความเข้าใจในข้อมูลเหล่านั้นจะทำให้ฮิตาชิสร้างแนวทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมขึ้นมาได้

บทสัมภาษณ์ CONNECT (ฉบับ ตุลาคม 2018)

ชื่อ: สมศักดิ์ กาญจนาคาร
ตำแหน่ง: ผู้จัดการทั่วไป, ศูนย์พัฒนาบัญชี / ผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสาร, ศูนย์ Lumada สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัท: บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด


ทางเราทราบมาว่าคุณสวมหมวกสองใบอยู่ในปัจจุบัน คุณเล่าให้เราฟังได้ไหมว่าคุณทำหน้าที่อะไรบ้างที่ฮิตาชิ?

ผมทำงานอยู่ที่ศูนย์พัฒนาบัญชีที่จัดตั้งขึ้นได้ไม่นานในพื้นที่ของบริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด (Hitachi Asia (Thailand) Co., Ltd. (HAS-TH) หรือเรียกทั่วไปว่าการพัฒนาธุรกิจ และหน้าที่หลักของผมคือการพัฒนาลูกค้าหลัก โดยเฉพาะบริษัทรวมธุรกิจในประเทศไทย เช่น TCC Group, CP Group, Siam Cement, และ Amata Group นอกจากนี้ ผมติดต่ออย่างต่อเนื่องกับเจ้าหน้าที่รัฐของไทยและเข้าพบรัฐมนตรีเพื่อเน้นย้ำเรื่องการให้บริการของฮิตาชิและการดำเนินธุรกิจในประเทศ


หมวกอีกใบที่ผมสวมใส่อยู่ใน HAS-TH คือผู้อำนวยการฝ่ายติดต่อสื่อสารภายในศูนย์ Lumada ที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่นานในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย โดยผมนั้นทำงานร่วมกับคุณอากิฮิโระ โอฮาชิ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และคุณฮิเดยูกิ ทาคาฮิชิ ผู้จัดการทั่วไปของ Smart Manufacturing และศูนย์ธุรกิจ IoT สุภาพบุรุษทั้งสองท่านนี้ดูแลเรื่องภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์ Lumada และผมเป็นผู้ประสานงานทางธุรกิจและนักการตลาดปลุกมวลชนศูนย์ Lumada ที่ให้บริการกับลูกค้าท้องถิ่น


เราอยากทราบว่าศูนย์ Lumada ในประเทศไทยเปิดทำการอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2018 ให้บริการอะไรบ้าง?

ศูนย์ Lumuda แห่งนี้เป็นสาขาแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลูกค้าจะได้เห็นการสาธิตเสมือนจริงและมีการจัดแสดงบริการ (ซอฟต์แวร์) และสินค้า (ฮาร์ดแวร์) ของฮิตาชิในศูนย์ Lumada เปรียบเสมือนแพลตฟอร์มที่เราร่วมสร้างบริการไปกับลูกค้าและให้ลูกค้าได้เห็นถึงการบูรณาการของซอฟต์แวร์และรับรู้ว่ากระบวนการโดยรวมมีอัจฉริยะภาพและง่ายต่อการตั้งค่าพึงใจได้มากแค่ไหน ผมเชื่อว่าศูนย์แห่งนี้จะช่วยให้ลูกค้าในปัจจุบันและในอนาคตของเราเข้าใจว่าฮิตาชิสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร


เมื่อก่อตั้งศูนย์ Lumada สิ่งที่ตามมาคือ NEXPERIENCE ที่เราเจตนาใช้สร้างธุรกิจใหม่และเปิดรับวิสัยทัศน์จากภายนอกผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการกับลูกค้าหรือการสรรค์สร้างแบบมีส่วนร่วม


อย่างที่ทราบกันดีว่าฮิตาชิได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับสำนักงานโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อนำบริการด้านนวัตกรรมทางสังคมของฮิตาชิมาใช้ในเขตเศรษฐกิจใหม่ EEC ถือเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาของรัฐบาลไทย


และในปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศไทยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องแรงงานจำนวนมาก ศูนย์ Lumada จะช่วยให้เราหันมาใช้อัตโนมัติกรรมและแปลงข้อมูลเป็นคำสั่งอัจฉริยะ เช่น กระบวนการผลิต การจัดการคลังสินค้า และระบบควบคุมคุณภาพเพื่อให้โรงงานของเรามีอัจฉริยะภาพมากยิ่งขึ้น


ด้วยเหตุนี้เองที่ในปีแรกของการเปิดตัวศูนย์ Lumada จะเป็นการเน้นการดำเนินงานในภาคการผลิต การพัฒนาภาคการผลิตเป็นอีกวิธีในการทำให้ประเทศเติบโตไปอีกขั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากโรงงานอัจฉริยะคือต้นทุนการผลิตที่น้อยลงและประสิทธิผลในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงอัตราการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น


เป็นเหตุผลที่ทำให้ฮิตาชิ เมทัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่โรงงานชลบุรี ได้รับเลือกให้เป็นจุดสาธิตโรงงานอัจฉริยะของศูนย์ Lumada


นอกจากนี้ หากรัฐบาลไทยร่วมมือกับฮิตาชิในกระบวนการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) และสร้างความเข้าใจในข้อมูลเหล่านั้นจะทำให้ฮิตาชิสร้างแนวทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมขึ้นมาได้ เห็นได้ชัดว่า Lumada เป็นแพลตฟอร์มที่ตั้งค่าได้ตามต้องการและมีศักยภาพอันไร้ขีดจำกัด!


ในความคิดส่วนตัว คุณคาดหวังที่จะให้ศูนย์ Lumada สร้างหรือช่วยเหลืออะไรให้กับสังคมไทย?

ผมมีความเห็นว่าฮิตาชิมีโอกาสที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยจำนวนมากแต่ยังเข้าไม่ถึง เรากำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยกับไปรษณีย์ไทยหรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และอาจได้มีโอกาสร่วมงานกับพวกเขา เรารู้สึกตื่นเต้นกับอนาคตอันใกล้!


ในความคิดส่วนตัว ผมหวังว่าศูนย์ Lumada จะช่วยให้คนไทยเข้าใจศักยภาพของฮิตาชิมากขึ้นในเรื่องของไอซีทีและ IoT มากยิ่งขึ้น และเข้าใจว่าฮิตาชิเป็นมากกว่าแค่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน


นอกจากนี้ ศูนย์ Lumada มีโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในด้านการฝึกฝนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรข้อมูลและมาร่วมทำงานเพื่อสังคมกับเราในอนาคต มีการพัฒนาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากที่ศูนย์ Lumada ซึ่งอาจนำไปสู่การวิวัฒนาการครั้งต่อไปที่ไม่มีใครล่วงรู้ได้